วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มะขามแขก


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alexandrina P. Miller
ชื่อสามัญ : Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna
วงศ์ : Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 0.5 – 1.5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ส่วนที่ใช้ : ใบแห้ง และฝักแห้ง ช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)
สรรพคุณ :
ใบและฝัก - ใช้เป็นยาถ่ายที่ดี ใบไซ้ท้องมากกว่าฝัก
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใบมะขามแขกหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 10-15 ฝัก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบรสเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว หรือ ใช้วิธีบดใบแห้ง เป็นผงชงน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขโดย ต้มรวมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู อบเชย) เพื่อแต่งรสและบรรเทาอาการไซ้ท้อง มะขามแขก เหมาะกับคนสูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราวข้อห้าม : ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทานสารเคมี : ใบและฝักพบสารประกอบพวก anthraquinones เช่น sennoside A.B.C.D. aloe emodin , emodin , rhein , physcion , และสาร anthrones dianthrones

ที่มา http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_05_7.htm



โหรพา



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.
ชื่อสามัญ : Sweet Basil
วงศ์ : Labiatae
ชื่ออื่น : ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก
ทั้งต้น - เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้
เมล็ด - นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)
ราก - ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้
สรรพคุณ :
ทั้งต้น - รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร- แก้ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร- จุกเสียดแน่น ท้องเสีย- ประจำเดือนผิดปกติ- ฟกช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด- ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง
เมล็ด- รสชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก- ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา- ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)
ราก - แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
ทั้งต้น - แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา
เมล็ด - แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา
ราก - เผา เป็นเถ้าพอก
ใบ - ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ- ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน
สารเคมี
น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol

มะรุม



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.
ชื่อสามัญ : Horse radish tree, Drumstick
วงศ์ : Moringaceae
ชื่ออื่น : กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3 เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน 4 กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อันไม่สมบูรณ์ 5 อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร 3 ปีก ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก
สรรพคุณ :
ฝัก - ปรุงเป็นอาหารรับประทาน
เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)
ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก - แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบแพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

มะกรูด


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ชื่อสามัญ : Leech lime, Mauritus papeda
วงศ์ : Rutaceae
ชื่ออื่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ดส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ผล ผิวจากผล
สรรพคุณ :
ราก - กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย
ผล, น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด
ผิวจากผล - ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น- เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้
ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วยโดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน


ที่มา http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_6.htm

มะเเว้งเครือ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่ออื่น : มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ ) แขว้งเควีย (ตาก)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีหนามตามเส้นใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก ย่น ปลายแหลม โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้สีเหลืองมี 5 อัน ผล รูปทรงกลม ขนาด 0.5 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวมีลายขาว ผลสุกสีแดงใส เมล็ดแบน มีจำนวนมากส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ ผลสดแก่โตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก
สรรพคุณ :
ราก - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา แก้ไอ แก้ขับเสมหะให้ตก แก้หืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ แก้น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ แก้วัณโรค
ทั้งต้น - ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ
ต้น - แก้หญิงท้องขึ้นในขณะมีครรภ์ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กระทุ้งพิษไข้ ขับปัสสาวะ
ใบ - บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว
ผลสด - แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้โลหิตออกทางทวารหนักทวารเบา
วิธีและปริมาณที่ใช้ แก้ไอ แก้โรคหืดหอบ ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
เอาผลมะแว้งเครือสดๆ 5-6 ผล นำมาเคี้ยวกลืน เฉพาะน้ำจนหมดรสขม แล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอได้ผลชงัด
ใช้ผลสดๆ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำ ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ
รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ใช้ผลมะแว้ง โตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มน้ำพริก
สารเคมี : ใบ มี Tomatid - 5 - en -3- ß - ol ดอก มี Alkaloids, Cellulose, Pectins Unidentified organic acid Lignins, Unidentified saponins ผล มี Enzyme oxidase, Vitamin A ค่อนข้างสูง

สายน้ำผี้ง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonicera japonica Thunb.
ชื่อสามัญ : Honey Suckle
วงศ์ : Caprifoliaceae
ชื่ออื่น : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา กิ่งสีน้ำตาลเป็นมัน มีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเกิดเป็นคู่ตรงกันข้าม มีขนตามเส้นกลางใบทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นหลอดยาว 1.5-3 ซม. แยกเป็น 2 กลีบๆ บนมี 4 หยัก กลีบล่างมี 1 กลีบ เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบดอก ผลกลมสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ซม. เกลี้ยงไม่มีขนส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ดอกตูม เถาสด
สรรพคุณ :
ทั้งต้น -ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้แผลฝีต่างๆ - แก้ท้องร่วง ตับอักเสบ โรคลำไส้- ปวดเมื่อยตามข้อ
ดอกตูม- ใช้รักษาโรคผิวหนัง- ดอกคั้นรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร
เถาสด - ใช้รักษา บิดไม่มีตัว (ท้องเสีย) ลำไส้อักเสบ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถาสด 100 กรัม สับเป็นท่อนเล็กๆ ใส่ลงในหม้อเคลือบ เติมน้ำลงไป 200 มิลลิลิตร แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง แล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆ 3 ชั่วโมง แล้วเติมน้ำให้ได้ 100 มิลลิลิตร กรองเอาน้ำรับประทานวันละ 1.6-2.4 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพิ่มหรือลดขนาดของยาตามอาการ โดยทั่วไปเริ่มต้นให้รับประทาน 20 มิลลิลิตร ทุก 4 ชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นให้รับประทานครั้งละ 20 มิลลิลิตร ทุก 6 ชั่วโมง หลังจากอาการท้องร่วงหายไปให้รับประทานต่ออีก 2 วันสารเคมี
ใบ มี lonicerin และ luteolin-7-rhamnoglucoside
ดอก มี luteolin-7-glucoside, inositol และ saponin
ผล มี Cryptosanthin

ไพล


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.
ชื่อสามัญ : Z.purpureum Roscoe
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลมส่วนที่ใช้ : เหง้าไพลที่แก่จัด
สรรพคุณ : รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ข้อเคล็ด ข้อเท้าแพลง ฟกช้ำบวม

มังคุด



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana L.
ชื่อสามัญ : Mangosteen
วงศ์ : Guttiferae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม. ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อน ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลมส่วนที่ใช้ : เปลือกผลแห้ง
สรรพคุณ : เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า

กานพลู



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง : Caryophyllus aromatica L. ; Eugenia aromatica (L.) Baill; E.Caryophylla (Spreng.) Bullock et Harrison; E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ : Clove Tree
วงศ์ : Myrtaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตรส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ
สรรพคุณ :
เปลือกต้น - แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
ใบ - แก้ปวดมวน
ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่นดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
ผล - ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้องใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัมในผู้ใหญ่ - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้วในเด็ก - ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนมเด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
ยาแก้ปวดฟันใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
ระงับกลิ่นปากใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
สารเคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla - 3(12)-6-dien-4-ol

ผักชี



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum L.
ชื่อสามัญ : Coriander
วงศ์ : Umbelliferae
ชื่ออื่น : ผักหอม (นครพนม) ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ) ยำแย้ (กระบี่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล ใบ ลักษณะการออกของใบจะเรียงคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ ผล จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้นส่วนที่ใช้ : ผล เมล็ด ต้นสด
สรรพคุณ :
ผล - แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก แก้ท้องอืดเฟ้อ
เมล็ด - แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ
ต้นสด - ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้บิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ผล 1 ถ้วยชา ตำผสมน้ำตาลทราย ผสมน้ำดื่ม
แก้บิด ถ่ายเป็นมูก ใช้น้ำจากผลสดอุ่น ผสมเหล้าดื่ม
แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก - ใช้ผลสดบดให้แตก ผสมเหล้าดื่มวันละ 5 ครั้ง - ใช้ต้นสด 120 กรัม ใส่นม 2 แก้ว ผสมน้ำตาล ดื่ม
แก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้ผล 2 ช้อนชา ต้มน้ำดื่ม
แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น ใช้ต้นสด หั่นเป็นฝอย ใส่เหล้าต้มให้เดือด ใช้ทา
แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ ใช้เมล็ดต้มน้ำ ใช้อมบ้วนปากบ่อยๆ

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=vRAB4qdXNr4&feature=related